ประวัติความเป็นมา



ประวัติความเป็นมา 
ตำบลบางเตยเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอสามพราน มีเรืองเล่าขานว่าที่เรียกว่า "บางเตย" นั้น เนื่องจากในสมัยที่ยังใช้เรือเป็น พาหนะในการขนส่งสินค้า ในอดีตนั้นบริเวณตำบล  บางเตยสองฝั่ง  แม่น้ำท่าจีนมีต้นเตย (หรือปัจจุบันเรียกว่า ต้นหนามเตย ) ขึ้นกันอยู่หนาแน่นมาก  ซึ่งต่อมา          ได้นำมาใช้ ในงานจักสานเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้าน ได้แก่ การสานเสื่อเตย หมอนเตย  โดยใช้ใบจากต้นเตยหนาม  ที่ขึ้นอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีนเป็นวัตถุดิบ อีกทั้งสมัยก่อนคนไทยนิยมกินหมากกันมาก หมากบางเตย ถือว่าเป็นสินค้าขึ้นชื่อของตำบลเหมือนกัน เนื่องจากต้นหมากที่ปลูกบริเวณตำบลบางเตยจะให้ผลหมากที่มีรสชาติฝาดจัด เมื่อนำมาทานผสมกับใบพลู จะให้รสชาติที่ถูกปากคนไทยสมัยก่อนที่นิยมกินหมาก และ ในปัจจุบันได้เกิดมีขนุน เรียกว่า "ขนุนพันธุ์เหลืองบางเตย" สืบเนื่องมาจากเกษตรกรได้เพาะพันธุ์เมล็ดขนุนและได้กลายพันธุ์เกิดเป็นขนุนพันธุ์ใหม่ถือว่าเป็น  ขนุนพันธุ์ดีและมีชื่อของ ตำบลบางเตย เพราะขนุนพันธุ์นี้ให้ผลดกติดลูกดีและมีผลที่ใหญ่ประมาณ  ๒๐ กิโลกรัมต่อผล มีเนื้อหนาแน่น ยวงยาว รสชาติหวานสีเหลืองน่ารับประทาน ซึ่งปัจจุบันขนุนพันธุ์นี้ต้นแม่พันธุ์อยู่ที่สวนของ นางบังอร สุขทัศน์ หมู่ที่ ๓ ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน  จังหวัดนครปฐม และได้มีเกษตรกรนำไปจำหน่ายทั่วทุกภาคของประเทศไทย
สภาพทั่วไป/ลักษณะภูมิประเทศ
ที่ตั้ง      องค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย  ตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการอำเภอสามพรานประมาณ  ๑๖  กิโลเมตร   มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียง  ดังนี้

ทิศเหนือ            ติดต่อกับ   ตำบลศาลายา
ทิศใต้                        ติดต่อกับ   ตำบลไร่ขิง
ทิศตะวันออก              ติดต่อกับ   ตำบลบางเตย
ทิศตะวันตก               ติดต่อกับ   ตำบลทรงคะนอง

มีแม่น้ำท่าจีนกั้นระหว่างหมู่ที่ ๑,    กับหมู่ที่ ๓, , , ๖ และ ๗
เนื้อที่        มีพื้นที่  ๑๐.๗๒๕  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  ,๗๐๓.๑๒๕ ไร่


การเมืองการปกครอง
เขตการปกครอง
                องค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย  แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๗ หมู่บ้าน   
(เต็มทั้งหมู่บ้าน)
                        หมู่ที่          บ้านคลองสามบาท
                        หมู่ที่          บ้านคอราง
                        หมู่ที่         บ้านคลองหลวง
                        หมู่ที่          บ้านบางเตย
             หมู่ที่          บ้านคลองโพธิ์
             หมู่ที่          บ้านคลองดงตาล(บ้านบางเตย)
             หมู่ที่          บ้านคลองผีเสื้อ


จำนวนหมู่บ้าน / ประชากร
ประชากรทั้งสิ้น ๔,๐๑๔ คน  แยกเป็น   ชาย ๑,๙๔๘ คน   หญิง ๒,๐๖๖ คน      มีความหนาแน่นเฉลี่ย ๓๗๕ คน/ ตารางกิโลเมตร  จำนวนครัวเรือน ๑,๕๗๑ ครัวเรือน

สภาพทางเศรษฐกิจ / สังคม  
         อาชีพ
                อาชีพหลัก  คือ  เกษตรกรรม 
                พืชเศรษฐกิจ  ได้แก่  ทำนาข้าว  ส้มโอ  ขนุน  หมาก  กล้วยไม้  มะม่วง  เป็นต้น
                อาชีพรอง  คือ  ค้าขายและรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม ประชาชนส่วนใหญ่สามารถประกอบอาชีพในการเลี้ยงชีพตนเองได้  และมีรายได้อยู่ในระดับเกณฑ์ดี
ด้านเกษตรกรรม   
- อาชีพหลัก  คือ  เกษตรกรรม 
                - พืชเศรษฐกิจ  ได้แก่  ทำนาข้าว  ส้มโอ  ขนุน  หมาก  กล้วยไม้  มะม่วง  เป็นต้น
                - อาชีพรอง  คือ  ค้าขายและรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมประชาชนส่วนใหญ่สามารถประกอบอาชีพในการเลี้ยงชีพตนเองได้  และมีรายได้อยู่ในระดับเกณฑ์ดี
สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
การศึกษา 
โรงเรียนประถมศึกษา                            จำนวน        แห่ง  
โรงเรียนมัธยมศึกษา                             จำนวน    -    แห่ง      
โรงเรียนอาชีวศึกษา                             จำนวน    -    แห่ง      
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน           จำนวน       แห่ง
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
วัด                            จำนวน    -    แห่ง      
สำนักสงฆ์                 จำนวน    -    แห่ง      
ศาลเจ้า                     จำนวน        แห่ง

การสาธารณสุข   
สถานีอนามัยประจำตำบล     จำนวน        แห่ง             
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน               จำนวน        แห่ง             
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ  ๑๐๐ 

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
สถานีตำรวจชุมชน             จำนวน    -    แห่ง      
สถานีดับเพลิง            จำนวน    -    แห่ง

หน่วยธุรกิจในเขต องค์การบริหารส่วนตำบล
โชว์รูมรถยนต์                    จำนวน        แห่ง
ร้านซ่อมรถ-อะไหล่รถ                จำนวน        แห่ง
ร้านอาหาร                 จำนวน        แห่ง
ปั๊มน้ำมันและก๊าซ                จำนวน        แห่ง
ร้านค้าไม้แปรรูป                 จำนวน        แห่ง
โรงงานอุตสาหกรรม           จำนวน   ๒๓   แห่ง
ร้านล้างอัดฉีดรถยนต์                  จำนวน        แห่ง
ร้านค้าต่าง ๆ                              จำนวน    ๓๙   แห่ง
ห้องแถว                    จำนวน   ๓๓   แห่ง
โกดังเก็บของ                     จำนวน        แห่ง
การโทรคมนาคม
ที่ทำการไปรษณีย์เอกชน             จำนวน    -    แห่ง
        โทรศัพท์สาธารณะ                      จำนวน   ๑๔   แห่ง
การไฟฟ้า
อัตราการใช้ไฟฟ้าของหมู่บ้าน               คิดเป็นอัตราร้อยละ  ๑๐๐
แหล่งน้ำธรรมชาติ

แม่น้ำ  จำนวน        สายลำคลอง         จำนวน   ๑๑   สาย
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
                บ่อน้ำบาดาล                              จำนวน   ๑๒   แห่ง
หอถังน้ำประปา คสล.                          จำนวน   ๑๒   แห่ง


ข้อมูลพื้นฐาน กศน.ตำบลบางเตย

ประวัติของกศน.ตำบลบางเตย
              กศน.ตำบล เป็นหน่วยงานในสังกัด กศน.อำเภอสามพราน มีฐานะเป็นหน่วยจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน  และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน
              เพื่อให้การดำเนินงานและการจัดกิจกรรมของศูนย์การเรียนชุมชนได้เข้าถึงประชาชนทุกพื้นที่เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้ที่พลาดโอกาสและด้วยโอกาสทางการศึกษา   จึงจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบางเตย ตั้งอยู่ที่ สภาตำบล(เก่า) หมู่ที่ ๗  ต.บางเตย   อ.สามพราน จ.นครปฐม 
                ด้วยมติคณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒  (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑) มติมอบหมายให้สำนักงาน กศน.ปรับบทบาทศูนย์การเรียนชุมชนที่มีความพร้อมเป็น กศน.ตำบลเพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่คุณภาพ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันเพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้แก่ประชาชนในชุมชน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา     ตามอัธยาศัยอำเภอสามพรานจังปรับเปลี่ยนศูนย์การเรียนชุมชนให้เป็น กศน.ตำบลบางเตย       ตั้งแต่ วันที่  ๑๗  กันยายน  พ.ศ.๒๕๕๓

ประวัติการศึกษาของประชากร

การศึกษา
จำนวนเพศชาย(คน)
จำนวนเพศหญิง(คน)
จำนวนรวม(คน)
ไม่เคยศึกษา
-
-
-
ต่ำกว่า ป.๔
๙๘
๑๐๙
๒๐๑
ป.๔
๒๖๔
๓๑๙
๕๘๓
ม.ศ.๑-๓
๔๓
๔๗
๙๐
ม.๑-๓
๕๖
๖๙
๑๒๕
ม.ศ.๔-๖
๑๔
๑๔
๒๘
ม.๔-๖
๕๗
๕๒
๑๐๙
ปวช.
๒๙
๒๑
๕๐
ปวส.
๑๗
๒๕
ปริญญาตรี
๑๒๕
๑๗๕
๓๐๐
ปริญญาโท
๑๗
ปริญญาเอก
-
-
-
อื่นๆหรือไม่ระบุ
๔๗๕
๔๗๐
๙๔๕
รวมทั้งหมด
๑,๑๘๗
๑,๒๘๖
๒,๔๗๓



ลบาcแนแย

งเตย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น